วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Reflective learning log (week 15)

สัปดาห์สุดท้ายแล้วของการเรียนวิชาทักษะการเขียนสำหรับครู ไม่รู้ว่าจะดีใจหรือเสียใจดี ต่อไปไม่มีแล้วการได้มาเขียนบล็อกอะไรแบบนี้  ต่อไปคงไม่มีแล้ววิชาที่เรียนไปหัวเราะไป ยิ้มไป วิชาที่เรียนแล้วต้องตั้งใจ ไม่นั่งเล่นโทรศัพท์ 5555
               วันนี้ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่เรียนแบบติดเทอร์โบว์มากๆๆ เรียน 3 เรื่องให้จบภายใน 3 ชั่วโมง ถึงแม้จะเรียนไปอย่างรวดเร็วเราก็ได้ความรู้อย่างครบถ้วน เรามาดูเรื่อง แรก ก็เลยดีกว่าค่ะ
เรื่องที่ 1 การเขียนโครงการ คือ กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยหลายๆกิจกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนโดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้กำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด
องค์ประกอบของโครงการ
-ชื่อโครงการ
-หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
-ผู้รับผิดชอบโครงการ
-หลักการและเหตุผล
-วัตถุประสงค์
-เป้าหมาย
-วิธีดำเนินการ
-แผนปฏิบัติงาน
-ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
-สถานที่ดำเนินการ
-งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้   
-การติดตามและประเมินผลโครงการ

เรื่องที่ 2 การเขียนรายงานวิชาการ คือ ผลจากการที่เราได้ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วเอามาเรียบเรียงใหม่ มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล การแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจ การวิเคราะห์และเป็นประโยชน์
องค์ประกอบของรายงานวิชาการที่ต้องมี
-ชื่อเรื่อง
-ชื่อผู้ทำรายงาน
-คำนำ
-สารบัญ
-บทนำ
-เนื้อหา
-บทสรุป
-บรรณานุกรม

เรื่องที่ 3  การเขียนอ้างอิงทางวิชาการ คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ทางวิชาการ
สามารถแบ่งการอ้างอิงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (In-text citations)
2. การอ้างอิงเชิงอรรถ (Footnotes)
3. การอ้างอิงท้ายเล่ม (References)
ความรู้ใหม่ ที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ การเขียนหน้าปกของรายงานวิชาการ ในส่วนของปกนอก ไม่ต้องใส่ชื่อของอาจารย์ ที่เราจะทำรายงานส่ง จะมีการเขียนแค่ 3 ส่วนเท่านั้น คือ ส่วนบน : ชื่อเรื่อง ,ส่วนกลาง :ชื่อผู้ทำ (แต่ไม่ต้องใส่คำว่าจัดทำโดย และส่วนล่าง : ก็จะใส่ถึงรายละเอียดของรายวิชา อีกทั้งการเขียนว่าหน้าสารบัญ ไม่ต้องใส่เลขหน้ากำกับในหน้า คำนำ สารบัญ และหน้าแรกของแต่ละบทก็ไม่ต้องใส่ตัวเลขแต่เราก็จะนับหน้านั้น

ข้อเสนอแนะ
ต้องบอกเลยว่ารู้สึกโชคดีที่ได้มีโอกาสได้มาเรียนกับอาจารย์ที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ ชอบแนวการสอนของอาจารย์มาก ชอบเวลาอาจารย์ให้คำแนะนำที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ ชอบหลักวิธีการคิดของอาจารย์ที่คิดต่างและมองประเด็นที่ต่างออกไป  เช่นการที่อาจารย์ให้คำแนะนำโดยการยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้ฟัง ว่าเวลาเราจะทำรายงานถึงแม้ว่าเราจะได้หัวข้อเดียวกันหมดทั้งหมด แต่เราก็ควรหามุมมองที่ต่างออกไปมานำเสนอ เพียงแค่นี้รายงานของเราก็จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น








นางสาว  จิราพร  โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Reflective learning log (week 14)

                  สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์…..เดือนแห่งการปั่นงานและการสอบปลายภาค เผลอแป๊บเดียว ใกล้จะหมดเทอมเข้าไปทุกทีแล้ว เนื้อหาที่เรียนก็เริ่มเข้มข้นขึ้น มีเนื้อหาที่ยากมากขึ้น  แต่เราก็ได้อาจารย์ที่มีเทคนิคการสอนที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราไปดูเนื้อหาที่ได้เรียนรู้กันวันนี้เลยดีกว่าคร้า
ความรู้ที่ได้รับสำหรับการเรียนในครั้งนี้ ก็ว่ากันด้วย เรื่องระเบียบงาน สารบรรณ และการเขียนหนังสือราชการ
ชนิดของหนังสือราชการมี 6 ชนิด

1.หนังสือภายนอก
    -นอกส่วนราชการ
    -ใช้กระดาษตราครุฑ





2.หนังสือภายใน
    -ในกระทรวง หน่วยงานเดียวกัน
    -ใช้กระดาษบันทึกข้อความ





3.หนังสือประทับตรา
    -ใช้กระดาษตราครุฑ เป็นการส่งเอกสารเพิ่มเติมข้อมูล





4.หนังสือสั่งการ / ใบคำสั่ง
   - คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
   -เป็นหนังสือที่มีผลต่อเงินเดือน




5.หนังสือประชาสัมพันธ์
        - ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว





6.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ขึ้นหรือรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานราชการ
    -หนังสือรับรอง รายงานการประชุม
 

หลักการเขียนเนื้อหา
1.เขียนจากปัญหา
2.เขียนจากข้อเท็จจริง
3.เขียนจากข้อพิจารณา
4.เขียนข้อเสนอ
นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบันทึกอนุมัติ,การเขียนสรุปรางานการประชุม ในวาระต่างๆ
ความรู้ใหม่ที่ได้รับในวันนี้ก็คือ ชั้นความเร็วและชั้นความลับของการส่งเอกสาร
ชั้นความเร็ว : ด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด
ตัวอย่างการส่ง
ด่วน : ถ้าได้รับจดหมายวันเช้าวันจันทร์ สามารถส่งกลับได้อย่างช้าสุดเย็นวันอังคาร
ด่วนมาก : ถ้าได้รับจดหมายวันเช้าวันจันทร์ ต้องส่งกลับภายในเช้าวันอังคาร
ด่วนที่สุด : ถ้าได้รับจดหมายวันเช้าวันจันทร์ ต้องส่งกลับภายในตอนเย็นวันจันทร์
ชั้นความลับ : ลับ ลับมาก ลับที่สุด
ข้อเสนอแนะ
สำหรับการเรียนในวันนี้ มีความสนุกสนานและได้รับความรู้อย่างครบถ้วน แต่มีปัญหาอยู่นิดนึงนะค่ะ นั่นก็คือเพาเวอร์พ้อยในการนำเสนอที่ฉายในจอมอนิเตอร์นั้น บางหน้าสีของตัวอักษรกับสีพื้นหลังเป็นสีเดียวกัน ส่งผลให้ไม่สามารถอ่านเนื้อหาจากไสด์นั้นได้

               

นางสาว จิราพร โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1 

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

Reflective learning log (week 13)

วันนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของการเขียนจดหมาย ในรูปแบบต่างๆ การเขียนจดหมายนั้น ไม่ใช่การเขียนข้อความถึงใครบางคน ใส่ซอง ติดแสตมป์ แล้วส่งไปรษณีย์ เท่านั้น แต่การเขียนจดหมายนั้นมีหลากหลายรูปแบบมากมาย สิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ก็คือการเขียนจดหมายกิจธุระ , จดหมายธุรกิจ , จดหมายเปิดผนึก,และจดหมายราชการ ซึ่งอาจารย์ทำให้ได้เข้าใจและทำให้สามารถแยกแยะออกว่าการเขียนแบบนี้คือจดหมายประเภทไหน
จดหมายส่วนตัว  เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน  อาจเป็นญาติสนิท  ครู  อาจารย์  เพื่อไต่ถามทุกข์สุขส่วนตัว  เล่าเรื่องราวที่พบเห็นมา  แสดงความเสียใจ  แสดงความยินดี  หรือขอบคุณ  หรือแจ้งกิจธุระบางอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
จดหมายกิจธุระ เป็น จดหมายที่เขียนไปเพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลหรือหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ  เพื่อแจ้งเรื่องการงานหรือเรื่องส่วนตัว  โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า  จดหมายกิจธุระ  ได้แก่  จดหมายลาป่วย  จดหมายลากิจ  จดหมายขอความร่วมมือหรือขอความช่วยเหลือ  (การขอความอนุเคราะห์)  จากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ
จดหมายเปิดผนึก เป็นจดหมายประเภทกิจธุระเขียนเผยแพร่ต่อสาธารณะชน สื่อมวลชน ซึ่งส่วนมากได้แก่หนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียง เผยแพร่สื่ออินเตอร์เน็ต เพื่อลงหรือประกาศข้อความในจดหมายให้ประชาชนทั่วไปทราบ ใจความของจดหมายชนิดนี้มีลักษณะเปิดเผยและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเสนอแนะ แสดงความรู้สึก แถลงความจริง บอกกล่าว ขอความร่วมมือ ท้วงติง หรือร้องเรียน ข้อควรปฏิบัติหรือความไม่ถูกต้องบางอย่างแก่ทางราชการ ประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือประชาชนทั่วไป
จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในวงการธุรกิจ โดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจระหว่างหน่วยงานหรือบุคคลธรรมดา จดหมายธุรกิจมีความแตกต่างจากจดหมายส่วนตัวบ้างในรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษา คือ จะใช้เป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ เช่น จดหมายเสนอขายสินค้าหรือบริการ จดหมายติดตามหนี้ จดหมายร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือเสียหาย
จดหมายราชการ เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ หรือบุคคลเขียนไปถึงส่วนราชการ  หรือส่วนราชการมีไปถึงส่วนราชการด้วยกันเอง  ตลอดจนส่วนราชการนั้นเขียนจดหมายไปถึงตัวบุคคล  การเขียนจดหมายราชการต้องคำนึงถึงแบบของหนังสือราชการตามระเบียบงานสารบรรณด้วย  ข้อความในหนังสือดังกล่าวถือว่าเป็นหลักฐานทางราชการ  มีสภาพผูกมัดถาวร  ดังนั้นจึงควรเขียนให้กระจ่างและชัดเจน
เมื่อเราสามารถแยกประเภทของการเขียนจดหมายและนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องเรา เรายังได้รับความรู้ใหม่ ในเรื่องของการเขียนวันที่ในจดหมายว่าจะต้องเขียนจากกึ่งกลางหน้ากระดาษเป็นต้นไป และจะต้องใช้เลขไทยในการเขียนเท่านั้น และในเนื้อหาข้อความควรมีอย่างน้อย 2-3 ย่อหน้า ซึ่งในย่อหน้าแรกจะกล่าวถึงเหตุที่มีจดหมายไป ย่อหน้าถัดมาจะแจ้งความประสงค์ หรือรายละเอียด ซึ่งในเนื้อความของจดหมายจะมีย่อหน้าเดียวไม่ได้  ทั้งนี้ยังได้รู้ด้วยว่าการเขียนจดหมายธุรกิจแบบสากลได้แก่ การเขียนบล็อก (Full Block Style) ว่าจะมีความแตกต่างจากการเขียนจดหมายทุกประเภท เพราะการเขียนจดหมายประเภทนี้ ต้องเขียนติดริมฝั่งซ้ายของกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ หรือชื่อที่อยู่ของผู้ส่งก็ตาม
  สุดท้ายอยากจะบอกว่าการเรียนในสัปดาห์นี้เป็นอะไรที่สนุกมากๆ การได้เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยเสียงหัวเราะ ทำให้เราอยากเรียนและไม่เคยเบื่อหน่ายกับการเรียนวิชานี้ ขอบคุณอาจารย์ที่ทุ่มเทกับพวกเรานะค่ะ



นางสาว จิราพร โสตแก้ว
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1
                      


วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

Reflective learning log (week 12)

สวัสดี สัปดาห์ที่ 12 ของการเรียน มาช้ายังดีกว่าไม่มานะคร้า ก่อนอื่นต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ที่มาเขียนบล็อกช้าเหลือเกินนนนน
                สำหรับการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ที่เกือบจะไม่ได้เรียนซะแล้ว ต้องบอกก่อนเลยว่าประทับใจมาก ทั้งๆที่อาจารย์จะติดประชุมแต่อาจารย์ก็ห่วงใยนักศึกษาอย่างพวกเรา และถึงแม้อาจารย์จะมีเวลาสอนเพียงช่วงเวลาสั้นๆแต่ก็ทำให้เราได้รับความรู้เช่นเดิม
   ความรู้ที่ดิฉันได้รับในการเรียนครั้งนี้ คือ เรื่องการเขียนบทกวีนิพนธ์ เช่น ความหมาย ประเภท และเทคนิคต่างๆที่จะทำให้งานเขียนกบทวีนิพนธ์ประเภทต่างๆนั้นให้มีคุณค่าและสวยงามมากยิ่งขึ้น ในการเรียนชั่วโมงนี้อาจารย์ให้แต่งกาพย์ยานี11 เกี่ยวกับวันครู ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่เราเคยเรียนมาแล้ว แต่ก็เป็นงานที่ดิฉันไม่ถนัดเอาซะเลย เมื่อเราต้องทำและได้ลงมือปฏิบัติจริงก็ทำให้เรามีความเข้าใจในเนื้อหา หลักและกฎเกณฑ์การแต่งกลอนให้ไพเราะมากยิ่งขึ้น เช่น การแต่งคำให้คล้องจอง การเล่นคำ ให้มีสัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสสระ สัมผัสตัวอักษร เป็นต้น


การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ สนุกมากๆแถมยังตระหนักได้ว่าเมื่อเราไปเป็นครูทุกวินาทีมีค่ามากๆในการที่เราจะให้ความรู้แก่นักเรียนของเรา อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของหนูค่ะ 


นางสาว จิราพร โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1 
หลักสูตรการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

ขอให้ประเทศไทยสงบสุข




                                                ขอให้ประเทศไทยสงบสุข




สยามเมืองยิ้ม เลื่องลือทั่วขนาน เป็นที่ประจักษ์นานาชาติแดนไกล ต่างเชื้อต่างชาติ แต่มารวมกัน เป็นอารยธรรมไทย แผ่นดินไทยนั้นเปรียบดั่งสยามประเทศที่ได้รับขนานนามถึงความเป็นเอกราชสามารถดำรงความเป็นปึกแผ่นของชาติไว้ ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดใด มีความเป็นอิสรภาพ ทั้งดินแดนศักดิ์ศรี สัญชาติ ศาสนา สำคัญยิ่งกว่านั้นคือสายเลือดความเป็นไทยของเหล่าผู้กล้าแห่งบรรพบุรุษเสียสละ พลีชีพเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง หลายครั้งในอดีตสมัยประวัติศาสตร์ต้องมีการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงการครอบครองดินแดน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกรุกรานจากชาติตะวันตกที่เข้ามายึดเขตดินแดนไทย แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของบรรพบุรุษที่พรั่งพร้อมด้วยความกล้า และความรักชาติที่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดคือความสามัคคีของคนไทยด้วยกัน ทำให้สามารถดำรงมาซึ่งความเป็นไทยจนถึงปัจจุบันนี้ หากคนไทยแตกแยก จะหันไปทางไหนถ้าไม่พึ่งคนไทยด้วยกัน
“ปรี๊ด ปรี๊ด ปรี๊ดดดด” เสียงนกหวีดดังทั่วกรุง หลากเสียงตะโกนก้องกังวานว่าเป็นเสียงแห่งความแตกแยก ท้องฟ้าที่เคยยิ้มให้กับคนไทยทุกคนบัดนี้ท้องฟ้ากำลังร้องไห้ ผู้คนต่างวิตกกังวลเรื่องความวุ่นวายที่คล้ายสงครามเล็กๆ ซึ่งกำลังเป็นข่าวดังไปทั่วโลก จากเหตุการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ได้สั่นคลอนภาพลักษณ์ของประเทศ ที่เคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศท่องเที่ยวและศูนย์กลางธุรกิจ  แม้นว่าในปัจจุบันถนนและผู้คนในกรุงเทพมหานครได้กลับไปใช้ชีวิตปกติ แต่ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่ต่างก็แก่งแย่งชิงเก้าอี้กันนั้นยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาความขัดแย้งได้พัฒนาไปไกลกว่าความขัดแย้งเรื่อง สีที่เกิดขึ้นระหว่างเสื้อแดงและเสื้อเหลือง ใจคนก็หม่นหมองลงทุกทีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มนับวันจะเลือนหายไปจากโลกมนุษย์ สยามที่เคยได้ชื่อว่าเป็นเมืองยิ้มก็จวนจะเหลือแต่ชื่อเต็มที เราจะทำอย่างไรกันเล่าหากคนไทยไม่ยิ้มให้กัน คนไทยไม่รักกัน หันมาฆ่าฟัน ทำร้ายกันเอง  ฉันคิดว่าเมื่อสังคมไทยเราแตกแยก เราจำเป็นจะต้องปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรักแผ่นดินเกิด กตัญญูต่อแผ่นดินอยู่ เคารพต่อชาติ นอกจากนี้แล้วยังมียาวิเศษ ที่จะรักษาและเยียวยาใจคน ฉันขอเรียกว่า  “  ยิ้มคือแม่เหล็กดูดมิตร ” แม่เหล็กดูดสิ่งของที่มีประจุต่างกันและผลักสิ่งที่มีประจุเหมือนกัน ประดุจผู้คนถึงแม้จะต่างกัน ไม่รู้จักกัน เพียงแค่เราส่งยิ้มแห่งมิตรภาพไป ไม่ถึงเสี้ยววินาทีคุณก็จะได้รับรอยยิ้มแบบเดียวกันกลับมา อานุภาพแห่งยิ้มชั่วพริบตานี้อาจนำมาซึ่งมิตรภาพที่ดีงาม ดั่งใจคนหากเราให้ความรักความจริงใจแก่เขา เราก็ย่อมจะได้รับกลับมาเฉกเช่นเดียวกัน ฉันก็ได้แต่หวังว่ายาวิเศษของฉันจะช่วยให้ประเทศไทยสงบสุข
                โบกสะบัด พลิ้วไหว แดง ขาว น้ำเงิน ขาว แดง ภายใต้ธงไตรรงค์ผืนเดียวกัน มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่พึ่งทางใจเหมือนกัน เราคนไทย ใจรักชาติ  ไม่แบ่งพรรคแบ่งสีแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หากคนไทยไม่รักกัน ใครกันเล่าจะมารัก หากคนไทยไม่หวงแหนความเป็นชาติไทย  ใครกันเล่าจะมาหวงแหนแทนเรา...








นางสาว จิราพร โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1 
หลักสูตรการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์


Reflective learning log (week 10)

            
       สวัสดีปีม้า ฮี่ๆๆๆๆๆๆๆ ^^ 

 สวัสดีสัปดาห์แรกของการเรียนปีนี้ เป็นการเรียนที่สนุกสนานมากๆ เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะตลอดทั้งคาบ นอกจากจะมีความสุขในการเรียนแล้ว เราก็ยังได้ความรู้ที่แปลกใหม่มากขึ้นด้วย
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโวหารและภาพพจน์ ทำให้ได้รู้ความหมายของโวหาร ,ประเภทของโวหาร ว่า มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่1.บรรยายโวหาร 2.พรรณาโวหาร3.เทศนาโวหาร
4.อุปมาโวหาร5.สาธกโวหาร และสามารถนำคำ 2 คำนี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ยังได้รู้ถึงความหมายของภาพพจน์ประเภทของภาพพจน์ ว่ามีทั้งหมด 8 ประเภท เช่น 1.อุปมา 2.อุปลักษณ์ 3.บุคลาธิษฐาน 4.อนุนามมัย 5.อธิพจน์ 6.ปฎิพจน์ 7.สัทพจน์ และ8.ปฎิปุจฉา เป็นต้น
ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ในวันนี้คือ ความแตกต่างระหว่างคำว่าภาพพจน์ กับ ภาพลักษณ์ เช่น
ประโยคที่ว่า ทำหยั่งงี้ได้ไง ภาพพจน์ชั้นเสียหมดเลย !!” เราอาจจะเคยใช้กันอยู่บ่อยๆ แต่แท้จริงแล้วนั้น ประโยคที่ถูกเราต้องใช้ ประโยคที่ ว่า ทำหยั่งงี้ได้ไง ภาพลักษณ์ชั้นเสียหมด!!” เพราะเนื่องจาก คำว่าภาพพจน์นั้นไม่สามารถใช้กับตัวบุคคลได้ ต้องใช้กับงานเขียนเท่านั้น

ข้อเสนอแนะ สำหรับการเรียนในวันนี้ ต้องขอบคุณอาจารย์ที่อาจารย์เข้าใจนักศึกษา ยอมให้มีการยืดหยุ่นในการส่งงาน เพราะงานเขียนบางงานเขียนนั้นต้องใช้เวลา ฮี่ๆๆๆๆๆๆ 





นางสาว จิราพร โสตแก้ว
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Reflective learning log (week 9)

       สวัสดีวันอังคารที่ 31/12/56  วันนี้เป็นสุดท้ายของปี แต่ไม่ใช่วันสุดท้ายของการเขียนบล๊อคอย่าแน่นอน ฮ่าๆๆๆ
      วันนี้อาจจะเป็นวันที่หลายๆคน หลายๆครอบครัว กินเลี้ยงสังสรรค์กันอย่างมีความสุข หรือบางคนอาจจะรอนับถอยหลังกันในคืนนี้อย่างใจจดใจจ่อ แต่สำหรับตัวฉันคืนนี้ฉันตั้งใจจะไปสวดมนต์ข้ามปี เพื่อต้อนรับสิ่งดีๆสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิต^^
      สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ก็คือ การมองทุกอย่างด้วยใจที่เป็นสุข ชีวิตเราก็จะมีแต่ความสุข มีรอยยิ้ม และการที่เรามอบความสุขให้กับผู้อื่นก่อน เราก็จะมีความสุข
      ความรู้ใหม่ สำหรับวันนี้ ฉันได้สืบค้นเกี่ยวกับเรื่องแนวการแต่งกาย เพราะฉันเป็นคนที่ชอบแต่งตัว แล้วอีกอย่างในช่วงเทศกาลแบบนี้ คนส่วนใหญ่อาจจะต้องไปงานปาร์ตี้ กินเลี้ยงปีใหม่กัน อาจจะมีการกำหนดตรีมงานการแต่งกาย จากการค้นคว้า ทำให้ฉันได้ทราบว่่า สีของเสื้อผ้ามีส่วนช่วยให้ผู้สวมใส่ มีเสน่ห์ สดชื่น แจ่มใส สมวัย เป็นที่ดึงดูดสายตาของผู้พบเห็น และ เกิดความชื่นชอบ นอกจากนั้น ยังเพิ่มความสบายใจ มั่นใจให้แก่ผู้สวมใส่ด้วย

สีของเสื้อผ้าที่สวมใส่  เป็นส่วนช่วยเสริมทำให้ผู้สวมใส่เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี เข้าสังคมได้มีความมั่นใจ และ ยอมรับได้โดยง่ายของบุคคอื่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ แต่ถ้าหากคุณไม่รู้จักเลือกสีของเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับผิวพรรณและรูปร่างของตน นอกจากคนสวย คนหล่อ จะกลายเป็นคนไม่สวย ไม่หล่อ หมดเสน่ห์ไปเลยก็เป็นได้ และ จากคนที่มีหน้าตาพอดูได้ก็อาจกลายเป็นคนขี้เหร่ไปเลยก็ได้คะ

      เนื่องจากพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันปีใหม่ ฉันก็อยากจะอวยพรให้ทุกท่านมีแต่ความสุขความเจริญ  ขอให้ประสพพบเจอแต่สิ่งดีๆตลอดทั้งปี ขอให้นับจากนี้...อีก
12เดือน ขอให้มีแต่ความสุข
52อาทิตย์ มีแต่ความสนุกสนาน
365วัน สุขสำราญ
8,760ชม ให้มีรักหวานๆผ่านเข้ามา
52,600นาที ให้มีแต่เรื่องดีๆ
3,153,600วินาทีให้คนจริงใจผ่านเข้ามา
ทุกเสี้ยววินาที ขอให้มีกินมีใช้ร่ำรวยเงินตรา 




นางสาว จิราพร โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1 

หลักสูตรการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์