วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Reflective learning log (Week 3)


สวัสดีสัปดาห์ที่3 เจอหน้ากันปุ๊บ !!อาจารย์ก็ได้บอกวัตถุประสงค์ของการเรียนในคาบนี้ปับ!! ว่าเมื่อเราเรียนหมดชั่วโมงแล้วเราต้องสามารถให้ความหมายของการเขียนได้,ต้องสามารถยกตัวอย่างภาษาเขียนีะดัยต่างๆได้ และต้องระบุคำที่เป็นแบบแผน แทนคำที่ใช้ผิด/ไม่เป็นแบบแผน เป็นต้น แค่ฟังชื่อเรื่องที่ต้องเรียนในชั่วโมงนี้ ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่น่าจะยาก แต่มันกลับตรงกันข้ามค่ะ ต้องบอกก่อนเลยว่า การเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ สนุกมากๆ หัวเราะกันตลอดทั้งคาบเลยทีเดียว5555 แถมยังอัดแน่นไปด้วยความรูั ที่สำคัญเป็นการเรียนที่มีความสุข ไม่เครียด ไม่กดดัน ทำให้เรารู้สึกอยากเรียน เพื่อนๆอยากจะรู้หรือยังค่ะ ว่าวันนี้เราได้เรียนอะไรกันบ้าง??
เกริ่นไว้เยอะแล้ว เราไปดูกันเลยดีกว่าคร้าา สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ ความหมายของการเขียน ซึ่งหมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก ของผู้ส่งสารออกไปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร เมื่อเรารู้ความหมายแล้ว ก็ยังได้เรียนรู้เรื่อง ลักษณะของภาษาเขียน ภาษาปาก กึ่งทางการและทางการ และตัวอย่างการใช้ภาษา ความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย เช่น กล้วย ความหมายโดยตรง หมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง แต่ความหมายโดยนัย อาจหมายถึง ง่ายๆ เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คงจะหนีไม่พ้น เรื่องการเขียนคำที่เรามักจะเขียนผิดหรือใช้ผิด ซึ่งมักจะคุ้นเคยกันในชีวิตประวันแต่ยังใช้ผิดอยู่ เช่น กริยา หมายถึง คำที่แสดงอาการของนาม/สรรพนาม กิริยา หมายถึง การกระทำ อาการที่แสดงออกมาด้วยกาย มารยาท เป็นต้น วันนี้ดูเหมือนจะเรียนหลายเรื่องมาก แต่อาจารย์ก็ทำให้เรื่องที่ใครๆก็ว่ายากให้กลายเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว นอกจากหัวข้อที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ยังมี เรื่องการใช้ลักษณนาม การใช้สำนวน คำราชาศัพท์ และหลีกเลี่ยงคำหยาบ คำแสลง คำจากหนังสือพิมพ์ ภาษาถิ่น คำซ้ำที่ไม่เป็นแบบแผน คำศัพท์ยาก คำฟุ่มเฟือย คำความหมายกำกวม และคำย่อที่คนทั่วไปไม่รู้ ซึ่งเมื่อการยกตัวอย่างคำในแต่ละเรื่องนั้นก็ทำให้ห้องเรียนมีสีสัน ตอบกันถูกบ้างผิดบ้าง เรียกได้ว่าเป็นการเรียนเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยความสุข
ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียนสัปดาห์นี้ คือ ได้ทราบที่มาของคำว่า "ชักแม่น้ำทั้งห้า" ซึ่งมาจากเรื่อง พระเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร (แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหิ) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของคำว่า นิสิต กับ นักศึกษาว่า ทำไมถึงใช้ต่างกัน ทำไมแต่ละสถาบันเรียกแทนตัวผู้เรียนไม่เหมือนกัน แต่ก่อนดิฉันเคยเข้าใจว่า มหาวิทยาลัยที่ได้ใช้คำว่า นิสิตนั้น ได้มาเพราะการพระราชทาน แต่มาวันนี้รู้แล้วว่า นิสิตจะใช้กับมหาวิทยาลัยที่ศิษย์เล่าเรียนอยู่ในสำนัก ผู้อาศัย เป็นคำเรียกผู้เรียนในสถานศึกษาบางแห่ง ส่วน คำว่านักศึกษา หมายถึง ผู้มีความรู้สอบรู้สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
ข้อเสนอแนะ ก็ขอพูดเรื่องเกี่ยวกับบล็อคนะค่ะ ว่าเราจะทราบได้ยังไงว่า อาจารย์ได้อ่านบล็อคของนักศึกษาคนนี้แล้วในแต่ละสัปดาห์ อยากจะให้อาจารย์คอมเม้นติ-ชมบล็อคของนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเขียน ขอบคุณค่ะ
นางสาวจิราพร โสตแก้ว
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1
คณะครุศาสตร์ สาขาการประถมศึกษา
บันทึกของการเรียนวันที่18/11/13

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Reflective learning log (week 2)

                นึ่งสัปดาห์ผ่านไปไวเหมือนโกหก....สัปดาห์นี้ก็เป็นสัปดาห์ที่ 2 กับการเรียนวิชาทักษะการเขียนสำหรับครู ความรู้สึกของการเรียนในวันนี้ รู้สึกว่าเป็นวันที่ขี้เกียจไปเรียนมากๆๆแต่ในขณะเดียวกันก็กลัวว่าจะเข้าเรียนไม่ทันเช็คชื่อ ทั้งรถติด ทั้งปิดถนน โอ้ยยย เป็นอะไรที่ตื่นเต้นมากๆๆ ชีวิตตั้งอยู่บนความเร่งรีบค่ะ แต่สุดท้ายและท้ายที่สุด จิราพร ก็ไปเข้าห้องทันเช็คชื่อค่ะ เป็นข่าวดีของเช้าวันนี้มากๆๆๆ เอิ๊กๆๆๆ


                ตึก ตึก ตึ๊ก....ทันทีที่อาจารย์ก้าวเข้ามาในห้อง จากเสียงที่ดึง อึกกระทึก ครึกโครม ก็เงียบสงัดลงทันที แต่เสียงในใจของดิฉันนี่ซิ่ค่ะ จะใจเต้นทำไม แอบกลัวอาจารย์เล็กน้อยว่าวันนี้อาจารย์จะสอนอะไร เนื้อหาจะยากไหม?? 
 
                "ภาษา คืออะไร??" เอาแล้วซิ่ค่ะ คำถามแรกของอาจารย์ในชั่วโมงนี้ ที่นำเข้าสู่บทเรียน ดิฉันนั่งหน้าสุด ก็พยายามคิด ตอบมั่วบ้าง เดาบ้าง เพราะจริงๆๆภาษาก็คือสิ่งที่เราพูดกันอยู่ทุกวันแต่เราไม่เคยคิดเลยว่าจริงๆๆแล้วภาษาคืออะไร ภาษามาจากไหน ? 
      มีผู้ให้ความหมายของภาษาไว้มากมายหลายความหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า 
                    

                        ภาษา มาจากการใช้คำสันสฤต ที่ว่า ภาษ ( อ่านว่า พา-สะ )
                           โดยเติมสระ า ต่อท้ายเข้าไป ทำให้ได้คำว่า ภาษา
                             แปลว่า การพูดหรือการใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร


นอกจากเราจะได้รู้ถึงความหมายของภาษาแล้ว ยังมีหัวข้ออื่นๆที่ได้เรียนในวันนี้ อาทิเช่น ประเภทของภาษา ,ลักษณะทั่วไปของภาษา และความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน  ดูแต่ละหัวข้อซิ่ค่ะ ดูเป็นเรื่องที่หนัก และเข้าใจยาก อาจารย์อาจารย์กลับสอนได้อย่างสนุกสนาน ทำให้เราอยากเรียน
อาจารย์มักจะมีกิจกรรมที่น่าตื่นเต้นมาให้ทำในชั่วโมงเรียนเสมอ สัปดาห์นี้ก็เช่นกัน 
กิจกรรมแรก อาจารย์ให้ถอดความ ขยายความ จากบทประพันธ์ แถมต้องทำแข่งกับเวลา กิจกรรมนี้แอบทำเครียดเล็กน้อย ถอดผิดถอดถูกบ้างงง อ๊ะๆๆๆ ถอดความนะคร้า ไม่ใช่ถอดอย่างอื่น อย่าคิดกันไปไกล 555 
กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้ปริ้นใบงานมาจากบ้านค่ะ ถามว่ารู้เรื่องมาก่อนไหม ตอบเลยว่าไม่ ! เป็นโชคดีของจิราพรมากๆๆ ที่มีเพื่อนใจดีบอกให้รู้แจ้งก่อนเข้าห้องเรียน ทำให้ไปถ่ายเอกสารได้ทันท่วงที มีใบงานกับเขาในคาบเรียน (เกือบซวยแล้วไหมหล่ะ -_-")
โดยในใบงาน จะให้เราแก้ภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียนอย่างถูกต้อง โดยอาจารย์จะกำหนดคำมาให้เรา เห็นคำตอนแรก โอ้โห มีตั้งเกือบ 50 คำ จะทำได้ไหมนี่ อ่านบางคำก็คิดว่ามันน่าจะถูก แต่แท้จริงเราเป็นยังไงมาดูกันคร้าา ขอยกตัวอย่างคำจากใบงาน เช่น

                คำที่ใช้ในภาษาพูด                          คำที่ใช้ในภาษาเขียน
                         ครู                  =                     ผู้สอน
                      วัวควาย               =                     โคกระบือ
                      เริ่ด                    =                     เลิศ
                      เดี้ยง                  =                     บาดเจ็บ
                      เจ๋ง                    =                     เยี่ยม
                                  
มีหลายคำมากกว่านี้ ที่เราคิดว่า มันถูกแล้ว แต่จริงๆในภาษาเขียนอาจจะไม่ได้ใช้อย่างที่เราเข้าใจก็เป็นได้ หลายคนอาจจะคิดว่าภาษาไทยยาก ดิฉันก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ ไหนจะคำ สันธาน คำกริยา คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม เยอะแยะไปหมด 

ความรู้ใหม่ที่ได้เรียนวันนี้ สำหรับดิฉันก็คงจะเป็นเรื่อง การแยกประเภทของภาษา
การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา 
การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา
การสื่อสารด้วยจักษุสัมผัส หรือการมองเห็น 
ทำให้เราได้รู้ว่าการสื่อสาร บางครั้งอาจจะไม่ได้มาจากการพูดหรือการเขียนเสมอไป 


           อาจารย์พยายามจะย้ำกับเราเสมอว่า ถึงแม้เดี๋ยวนี้จะมีคำแปลกๆใหม่ๆที่คนสมัยนี้มานำมาใช้กันมากมาย และหลายคนก็มองว่า เป็นภาษาวิบัติ แต่แท้จริงๆแล้วมันไม่ใช่ภาษาวิบัติ เพราะการนำคำใหม่ๆมาใช้นั้นก็เป็นเพียงแค่ชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปคำคำนั้นก็อาจจะเลือนหายไป....

บอกเลยว่าการเรียนในสัปด่าห์นี้มีทั้งความสนุกสนาน ตื่นเต้นและได้ความรู้ มากๆทำให้เราเรียนไปอย่างไม่ต้องคิดว่าเมื่อไหร่จะหมดเวลา ข้อเสนอแนะ ก็คงจะเป็นเรื่องอยากให้อาจารย์สอนลูกเล่นการเขียนบล็อคที่ดี การตกแต่งบล็อค และเทคนิคการเขียนที่จะเขียนยังไงให้น่าสนใจ ^^ 

ปล.เมื่อท่านอ่านมาถึงประโยคนี้ ก็ต้องบอกว่า ขอบคุณมากๆค่ะ ที่อ่านจนจบ อาจจะเขียนเยอะไปหน่อยนะคร้าา อย่าเพิ่งเบื่อกันน้าาา มาอ่านกันบ่อยๆนะค่ะ รักคนอ่าน  อิอิ 



นางสาว จิราพร   โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1
  คณะ ครุศาสตร์ สาขา การประถมศึกษา วันที่บันทึก 12.พ.ย .56




วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Reflective learning log (week 1)

สวัสดีสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียนที่2 มาวันแรกก็มาสายซะแล้ว ><
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ก่อนอื่นเลยก็คงต้องบอกว่าได้รู้จักอาจารย์ผู้สอนคนใหม่ อาจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน วันนี้อาจารย์ได้มาแนะนำเกี่ยวกับรายละเอียดของเนื้อหารายวิชา อาจารย์ได้พูดถึงรูปแบบ วิธี และเทคนิคการเรียนการสอน อาทิเช่น  การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning) ,การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning),การสอนแบบนิรนัย (Deductive) ,ผังความคิด (Mind map), การระดมสมอง (Brainstorming) และทฤษฎีการเรียนรู้แบบคอนสตรักติวิสต์ (Constructivism learning theory) นอกจากนี้อาจารย์ยังเน้นเกี่ยวกับเรื่องการจดเลกเชอร์โดย การเขียน mind map เพราะจะช่วยให้เราสามารถจดจำได้ในระยาว และยังทำให้เราเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อีกด้วย นอกจากนี้เรายังได้เขียนแสดงความคิดเห็นในเรื่องของบทบาทของครูสมัยใหม่ ทำให้เราได้มานึกคิดถึงตัวเราเองว่าเมื่อเราเป็นครูในอนาคตเราจะมีบทบาทเป็นแบบไหน ?
ความรู้ใหม่ที่ได้จากการเรียนวิชาทักษะการเขียน
นอกจากที่อาจารย์อธิบายเนื้อหารายวิชาเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้มอบหมายภาระงานให้เรา โดยการให้เรา สมัคร blogspot เพื่อสร้าง blogger เป็นของตัวเอง เกิดมาไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้มีโอกาสเขียนblog ด้วยตัวเอง ก็เป็นเรื่องที่ทำให้วิตกกังวลเล็กน้อย มีการขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และก็มีเพื่อนๆมาขอความช่วยเหลือจากเรา ก็เป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้น ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ ได้หัดทำ หัดเล่น ลองผิดลองถูกไป จนคิดว่าเกือบจะทำสำเร็จ
ข้อเสนอแนะ
สำหรับขอเสนอแนะก็คงยังไม่มี เพราะสิ่งที่อาจารย์ได้วางแผนเตรียมการสอนไว้ ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว หากจะเป็นข้อเสนอแนะก็คงมีให้กับตัวเอง กับการต้องเรียนรู้วิธีการใช้งาน blogger ให้มากขึ้น

นางสาว จิราพร โสตแก้ว
รหัส 55113400266 ตอนเรียน G1
วันที่บันทึก 05.พ.ย .56