วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Reflective learning log (week 15)

สัปดาห์สุดท้ายแล้วของการเรียนวิชาทักษะการเขียนสำหรับครู ไม่รู้ว่าจะดีใจหรือเสียใจดี ต่อไปไม่มีแล้วการได้มาเขียนบล็อกอะไรแบบนี้  ต่อไปคงไม่มีแล้ววิชาที่เรียนไปหัวเราะไป ยิ้มไป วิชาที่เรียนแล้วต้องตั้งใจ ไม่นั่งเล่นโทรศัพท์ 5555
               วันนี้ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่เรียนแบบติดเทอร์โบว์มากๆๆ เรียน 3 เรื่องให้จบภายใน 3 ชั่วโมง ถึงแม้จะเรียนไปอย่างรวดเร็วเราก็ได้ความรู้อย่างครบถ้วน เรามาดูเรื่อง แรก ก็เลยดีกว่าค่ะ
เรื่องที่ 1 การเขียนโครงการ คือ กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยหลายๆกิจกรรมให้เป็นไปตามขั้นตอนโดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้กำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด
องค์ประกอบของโครงการ
-ชื่อโครงการ
-หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
-ผู้รับผิดชอบโครงการ
-หลักการและเหตุผล
-วัตถุประสงค์
-เป้าหมาย
-วิธีดำเนินการ
-แผนปฏิบัติงาน
-ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
-สถานที่ดำเนินการ
-งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้   
-การติดตามและประเมินผลโครงการ

เรื่องที่ 2 การเขียนรายงานวิชาการ คือ ผลจากการที่เราได้ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วเอามาเรียบเรียงใหม่ มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล การแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจ การวิเคราะห์และเป็นประโยชน์
องค์ประกอบของรายงานวิชาการที่ต้องมี
-ชื่อเรื่อง
-ชื่อผู้ทำรายงาน
-คำนำ
-สารบัญ
-บทนำ
-เนื้อหา
-บทสรุป
-บรรณานุกรม

เรื่องที่ 3  การเขียนอ้างอิงทางวิชาการ คือ การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาอ้างอิงในเนื้อหาที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ทางวิชาการ
สามารถแบ่งการอ้างอิงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (In-text citations)
2. การอ้างอิงเชิงอรรถ (Footnotes)
3. การอ้างอิงท้ายเล่ม (References)
ความรู้ใหม่ ที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ คือ การเขียนหน้าปกของรายงานวิชาการ ในส่วนของปกนอก ไม่ต้องใส่ชื่อของอาจารย์ ที่เราจะทำรายงานส่ง จะมีการเขียนแค่ 3 ส่วนเท่านั้น คือ ส่วนบน : ชื่อเรื่อง ,ส่วนกลาง :ชื่อผู้ทำ (แต่ไม่ต้องใส่คำว่าจัดทำโดย และส่วนล่าง : ก็จะใส่ถึงรายละเอียดของรายวิชา อีกทั้งการเขียนว่าหน้าสารบัญ ไม่ต้องใส่เลขหน้ากำกับในหน้า คำนำ สารบัญ และหน้าแรกของแต่ละบทก็ไม่ต้องใส่ตัวเลขแต่เราก็จะนับหน้านั้น

ข้อเสนอแนะ
ต้องบอกเลยว่ารู้สึกโชคดีที่ได้มีโอกาสได้มาเรียนกับอาจารย์ที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ ชอบแนวการสอนของอาจารย์มาก ชอบเวลาอาจารย์ให้คำแนะนำที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ ชอบหลักวิธีการคิดของอาจารย์ที่คิดต่างและมองประเด็นที่ต่างออกไป  เช่นการที่อาจารย์ให้คำแนะนำโดยการยกตัวอย่างเหตุการณ์ให้ฟัง ว่าเวลาเราจะทำรายงานถึงแม้ว่าเราจะได้หัวข้อเดียวกันหมดทั้งหมด แต่เราก็ควรหามุมมองที่ต่างออกไปมานำเสนอ เพียงแค่นี้รายงานของเราก็จะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น








นางสาว  จิราพร  โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Reflective learning log (week 14)

                  สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์…..เดือนแห่งการปั่นงานและการสอบปลายภาค เผลอแป๊บเดียว ใกล้จะหมดเทอมเข้าไปทุกทีแล้ว เนื้อหาที่เรียนก็เริ่มเข้มข้นขึ้น มีเนื้อหาที่ยากมากขึ้น  แต่เราก็ได้อาจารย์ที่มีเทคนิคการสอนที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราไปดูเนื้อหาที่ได้เรียนรู้กันวันนี้เลยดีกว่าคร้า
ความรู้ที่ได้รับสำหรับการเรียนในครั้งนี้ ก็ว่ากันด้วย เรื่องระเบียบงาน สารบรรณ และการเขียนหนังสือราชการ
ชนิดของหนังสือราชการมี 6 ชนิด

1.หนังสือภายนอก
    -นอกส่วนราชการ
    -ใช้กระดาษตราครุฑ





2.หนังสือภายใน
    -ในกระทรวง หน่วยงานเดียวกัน
    -ใช้กระดาษบันทึกข้อความ





3.หนังสือประทับตรา
    -ใช้กระดาษตราครุฑ เป็นการส่งเอกสารเพิ่มเติมข้อมูล





4.หนังสือสั่งการ / ใบคำสั่ง
   - คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
   -เป็นหนังสือที่มีผลต่อเงินเดือน




5.หนังสือประชาสัมพันธ์
        - ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว





6.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ขึ้นหรือรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานราชการ
    -หนังสือรับรอง รายงานการประชุม
 

หลักการเขียนเนื้อหา
1.เขียนจากปัญหา
2.เขียนจากข้อเท็จจริง
3.เขียนจากข้อพิจารณา
4.เขียนข้อเสนอ
นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบันทึกอนุมัติ,การเขียนสรุปรางานการประชุม ในวาระต่างๆ
ความรู้ใหม่ที่ได้รับในวันนี้ก็คือ ชั้นความเร็วและชั้นความลับของการส่งเอกสาร
ชั้นความเร็ว : ด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด
ตัวอย่างการส่ง
ด่วน : ถ้าได้รับจดหมายวันเช้าวันจันทร์ สามารถส่งกลับได้อย่างช้าสุดเย็นวันอังคาร
ด่วนมาก : ถ้าได้รับจดหมายวันเช้าวันจันทร์ ต้องส่งกลับภายในเช้าวันอังคาร
ด่วนที่สุด : ถ้าได้รับจดหมายวันเช้าวันจันทร์ ต้องส่งกลับภายในตอนเย็นวันจันทร์
ชั้นความลับ : ลับ ลับมาก ลับที่สุด
ข้อเสนอแนะ
สำหรับการเรียนในวันนี้ มีความสนุกสนานและได้รับความรู้อย่างครบถ้วน แต่มีปัญหาอยู่นิดนึงนะค่ะ นั่นก็คือเพาเวอร์พ้อยในการนำเสนอที่ฉายในจอมอนิเตอร์นั้น บางหน้าสีของตัวอักษรกับสีพื้นหลังเป็นสีเดียวกัน ส่งผลให้ไม่สามารถอ่านเนื้อหาจากไสด์นั้นได้

               

นางสาว จิราพร โสตแก้ว 
รหัส 55113400266 ตอนเรียน E1